การขายฝาก | การจำนอง |
---|---|
การทำนิติกรรมการซึ้อขายทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้รูปแบบหนึ่ง ทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของคนซื้อทันที แต่มีข้อตกลงหรือเปิดโอกาสให้คนขายสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นๆ คืน ภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาขายฝากนั้น แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี ส่วนของผู้ซื้อก็มีสิทธิจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการขายฝากสูงสุดถึง 15% ต่อปี หรือ 1.25 % ต่อเดือน ที่สำคัญผู้ซื้อจะได้รับเงินจากการขายฝากคืนทันทีหากมีการไถ่ถอนเกิดขึ้น |
การทำนิติกรรมรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นการนำอสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์บางประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย มาเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนอง จนกว่าจะไปไถ่คืนตามระยะเวลาที่กำหนด โดยทรัพย์สินนั้นไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนองโดยทันที สำหรับการทำเรื่องนั้นจะต้องมีการทำสัญญาต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดิน เช่นเดียวกับการขายฝาก |
การขายฝาก | การจำนอง | |
---|---|---|
วงเงินในการอนุมัติ | 40% – 60% ของมูลค่าทรัพย์ | 20% – 40% ของมูลค่าทรัพย์ |
ดอกเบี้ยตามกฎหมาย | สูงสุดถึง 15% ต่อปี หรือ 1.25 % ต่อเดือน |
สูงสุดถึง 15% ต่อปี หรือ 1.25 % ต่อเดือน |
ระยะเวลาสัญญา | ขั้นต่ำ 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี | ตามตกลง ซึ่งจะขยายเวลาในสัญญากี่ครั้งก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี สำหรับจำนองไม่มีการกำหนดอายุความ แต่มีการกำหนดระยะเวลาในการชำระ ซึ่งหากครบสัญญาแล้ว ลูกหนี้สามารถจ่ายดอกเบี้ย เพื่อขอต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี |
ค่าธรรมเนียมราชการ |
|
|
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน | กรรมสิทธิ์เป็นของผู้รับซื้อฝาก ทันทีที่ทำสัญญา แต่ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนคืนได้ | กรรมสิทธิ์เป็นของผู้จำนอง |
ข้อดี | เงินทุนเร็ว, เงื่อนไขยืดหยุ่น, วงเงินในการอนุมัติสูงกว่าจำนอง | รักษาทรัพย์สิน, อัตราดอกเบี้ยต่ำ |
ข้อเสีย | ต้องซื้อคืนทรัพย์สิน | การตรวจสอบเครดิต, ระยะเวลาในการอนุมัติ, วงเงินอนุมัติต่ำกว่าขายฝาก |